วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวางตัวและมารยาทในการพูด,หลักการพูดโน้มน้าวใจ

14. การวางตัวและมารยาทในการพูด

1) ก่อนการพูด หากมีผู้พูดหลายคน ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวที ถ้าเป็นคนพูดคนแรก เมื่อแล้วก็ไม่ควรจะลุกไปไหน ควรจะมีมารยาทด้วยการนั่งฟังอย่างพอใจ ถ้าเป็นคนพูดหลังๆ ก็ควรแสดงความสนใจที่จะฟังการพูดของคนก่อนๆ เช่นกัน อย่ามัวหมกมุ่นอยู่กับการจดข้อความย่อ หรือการเตรียมตัวเรื่องที่จะพูดของตนโดยเฉพาะโดยไม่สนใจการพูดของคนอื่นเพราะผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังในที่นั้นตั้งใจฟัง ผู้ฟังจะได้ไม่เสียสมาธิ
2) เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉง ในการสงบอย่างปกติและก้าวเดินไปยังที่พูด ผู้พูดควรจะมีท่าทีเป็นมิตร มีความสุภาพ ไม่โอ้อวดมีอารมณ์ขันบ้าง และรู้จักให้เกียรติผู้ฟัง หรือรู้จักนำสิ่งที่ผู้ฟังสนใจหรือผู้ฟังเคยมีประสบการณ์มาเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมกัน หรือความเป็นพวกเดียวกัน
3) ระหว่างการพูด ผู้พูดต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่าท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่ แต่ควรคิดแต่เรื่องที่จะพูดให้ดีที่สุดเท่านั้น
4) หลังจากการพูดจบ เวลาจบผู้พูดไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่จำเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง ถ้าพูดได้ดีจริงผู้ฟังควรจะเป็นผู้ขอบคุณเมื่อพูดคำสุดท้าย แล้วก็หยุดนิดหนึ่ง ก้มศีรษะเล็กน้อยให้แก่คนฟังแล้วกลับไปนั่งที่ หรือเพื่อเป็นการโอภาปราศรัย อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ” ก็ได้
การพูดจะได้ผลดีหรือไม่เพียงไรนั้นมิได้อยู่กับผู้พูดแต่ฝ่ายเดียว เพราะแม้ว่าผู้พูดจะมีความรู้ความสามารถดีเด่นเพียงใดก็ตาม หากไม่รู้จักผู้ฟังของตนว่าชอบอย่างไร สนใจอะไร หรือไม่รู้เกี่ยวสถานการณ์ในการพูดครั้งนั้น ผู้พูดจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย ผู้พูดที่ดีจึงควรรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูดเสียก่อน

15. หลักการพูดโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่งก็คือ การใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจของบุคคลนั้นทั้งโดยวัจนภาษาและอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ เช่น การโฆษณาสินค้า, การหาเสียงของ ส.ส. ฯลฯ เป็นต้นการโฆษณาสินค้า เป็นการพูดจูงใจผู้ซื้อสินค้าให้เกิดสนใจ หรือยอมรับสินค้า หรือบริการของผู้โฆษณาการโฆษณาหาเสียง เป็นการพูดจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธา ในตัวผู้พูดและนโยบายของผู้พูด ได้แก่ การพูดหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น การโฆษณาความคิดเห็น หรือ การพูดโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นคล้อยตามการโฆษณาความคิดเห็นเป็นการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนความคิดทัศนคติ ค่านิยมซึ่งฝังลึกอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ฟังแล้วหัน มาสนใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้พูดและกระทำตามความประสงค์ของผู้พูด ได้แก่ การประชุมหรือการอภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ไม่มีความคิดเห็น: