วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

A Summary of the Fair Credit Reporting Act

A Summary of the Fair Credit Reporting Act
This summary of the Fair Credit Reporting Act will explain what you can legally do if you want to repair your own credit report. No matter what you hear, you can dispute credit information on your credit report if you understand the legal rights you have under this law.

The Federal Fair Credit Reporting Act was enacted by the United States Congress in 1971. In summary, it says that the credit bureaus must investigate a consumer dispute if they want to challenge credit information on his or her credit report.

It also states that credit bureaus are required to complete the investigation within a 30 day period. If the credit bureau finds that the disputed information is inaccurate or cannot be verified, they must promptly delete that information.

But there are some cases when a consumer dispute can be ignored by the credit bureaus. If you challenge a negative credit listing on the basis of things like health problems, divorce or job loss, the credit bureaus are entitled to ignore those kinds of disputes. The information you dispute must be either old or incorrect.

You must file a valid dispute where the credit bureaus can contact the creditor and confirm that the new information you gave them is accurate and can be verified. If the credit bureau does not receive verification from the creditor within 30 days, the Fair Credit Reporting Act says the credit bureau must promptly delete that credit listing.

Even though the process sounds simple, the credit bureaus make it more difficult than you can imagine. The credit bureaus don't like the credit repair companies or anyone offering instruction on how to repair your own credit report. Why? Because it means more work for them.

The credit bureaus blast credit repair companies in the media and warn people against using credit repair services. The bureaus openly deny that any information can even be removed from your credit report.

It is reported that 79 percent of all credit reports contain some type of errors, and up to 25 percent of these errors could result in credit denials, hiked interest rates, and even lost employment opportunities.

If you have any amount of negative credit on your credit report it will cause the interest on all loans you apply for to be much higher. It will even become a barrier to your credit approval. That will cost you a fortune in unnecessary higher interest resulting in higher payments on anything you buy.

How you decide to address or dispute credit information is entirely up to you. But regardless of what you may hear in the news, thousands of people have restored their credit. You can choose to repair your own credit report or hire a professional service to do it for you.

The truth is you do not have to endure bad credit for seven to ten years if you want to challenge the accuracy of your credit report. This summary of the Fair Credit Reporting Act shows you it is possible for you to repair your own credit report and the sooner you start the better.


Copyright � 2005 Credit Repair Facts.com All Rights Reserved.

หลักการอ่านออกเสียง

หลักการอ่านออกเสียง
หลักการอ่านออกเสียงเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง หากผู้อ่านออกเสียงชัดเจน ย่อมช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ผู้ฟังสามารถรับสารได้อย่างสมบูรณ์ จึงควรฝึกให้ชำนาญ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คำไทยส่วนมากเราออกเสียงกันได้ถูกต้อง คำที่มีปัญหาในการออกเสียงมักเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ฉะนั้นการ
อ่านออกเสียงจึงควรต้องคำนึง
2. อ่านประเด็นสำคัญ ในการอ่านถ้าผู้ฟังมีต้นฉบับตามที่เราอ่านอยู่ในมือ ผู้อ่านอาจอ่านได้ในอัตราที่ค่อนข้างเร็ว
อาจข้ามข้อความบางตอนไปได้ ต้องบอกให้ผู้ฟังรู้ว่าจะข้ามตอนไหน และจะเริ่มอ่านต่อตรงไหน
3. คำที่ออกเสียงยาก ผู้อ่านควรฝึกอ่านไว้ล่วงหน้า เช่น คำสฤษฎ์ อ่าน สะ-หริด ชุกชี อ่าน ชุก-กะ-ชี
4. อ่านข้อเขียน ถ้าอ่านจากข้อเขียนที่เป็นลายมือของตนเองควรเขียนต้นฉบับให้อ่านง่าย ตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่พอ
อย่าให้มีขูด ขีด ฆ่า หรือโยงกลับไปกลับมาจนทำให้สับสนในขณะที่อ่าน การอ่านให้ผู้อื่นฟังนั้นจะต้องอ่านให้ต่อเนื่องกันไปโดยตลอด
จะหยุดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้
5. การรู้ความหมายของคำ จะทำให้อ่านคำได้ถูกต้อง เช่น อรหันต์ อ่านออกเสียง ออ-ระ-หัน หมายถึง สัตว์ในนิยาย
มีสองเท้ามีปีก หัวเหมือนคนผู้วิเศษ อรหันต์ อ่านออกเสียง อะ-ระ-หัน หมายถึง ผู้สำเร็จธรรมพิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา
กรี อ่านออกเสียง กะ-รี หมายถึง ช้าง อ่านออกเสียง กรี หมายถึง กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
6. การอ่านบทร้อยกรอง ต้องคำนึงถึงฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ และต้องอ่านเพื่อเอื้อสัมผัสด้วยจึงจะมีความไพเราะ
เช่น สินสมุทรสุดคิดถึงบิตุเรศ คำที่ขีดเส้นใต้ควรอ่าน บิด-ตุ-เรด เพื่อให้เอื้อสัมผัสกับคำว่าผิด
7. การเว้นวรรค การอ่านเว้นวรรคได้ถูกต้องจะทำให้สื่อความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์ เช่น
ฉันไม่รู้ / จะตอบ / แทนเธอ / อย่างไรดี ฉันไม่รู้ / จะตอบแทน / เธอ / อย่างไรดี (เป็นการแบ่งวรรคได้ถูกต้องสามารถสื่อ
ความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์)
8. อ่านจากสิ่งพิมพ์ จะต้องตรวจทานดูให้ดีว่า การพิมพ์เว้นวรรคตอนไว้ถูกต้องเพียงไร
9. ต้องทรงตัวและใช้กิริยาอาการ ให้ถูกวิธี
10. ใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพ การฝึกทักษะในการใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพควรคำนึงถึง
- อัตราเร็วในการเปล่งเสียง
- ความดังในการเปล่งเสียง
- ระดับความสูงต่ำของเสียง
- คุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยเฉพาะ
11. อ่านให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทที่อ่านนั้นครบถ้วน ทั้งสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรอง ๆ ลงไป
12. อ่านให้ผู้ฟังสนใจฟัง อยู่ตลอดเวลา
การอ่านในใจโดยบอกสาระที่ให้ความรู้ได้

การอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อเก็บความรู้และอ่านเอาเรื่อง ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนภาษาไทย
และเป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้โดยทั่วไป ดังนั้นจึงควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะและสามารถนำ
ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านเป็นการช่วยสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ทำให้เข้าใจเรื่องได้ครบถ้วน
ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการอย่างรวดเร็ว การฝึกทักษะอ่านเพื่อจับใจความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายของคำ
และสำนวนในเรื่อง สามารถลำดับเหตุการณ์และลำดับความคิด แยกได้ว่าใจความใดเป็นใจความสำคัญและใจความใด
เป็นใจความรอง การอ่านจับใจความสำคัญเป็นทักษะการใช้ภาษาซึ่งจำเป็นต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความ
ชำนาญสามารถอ่านจับใจความสำคัญรองได้รวดเร็วเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการจับใจความสำคัญ มีดังนี้
1. ถ้าเป็นเรื่องขนาดสั้น ต้องอ่านให้ตลอดเรื่องแล้วจึงสรุป แต่ถ้าเป็นเรื่องขนาดยาวควรอ่านทีละบท
ทีละตอน
2. เรื่องที่อ่านควรจับใจความให้ได้ว่าในเรื่องต้องการบอกความรู้ ความคิดเห็น การแสดงอารมณ์
ความรู้สึกของผู้เขียนอย่างไร พยายามค้นหาเรื่องที่เป็นหลักใหญ่ให้ได้ แล้วจึงพิจารณาประเด็นปลีกย่อย
3. การจับใจความเรื่องที่ไม่มีตัวบุคคล ควรพิจารณาว่าเรื่องอะไร บอกสั่งแนะนำอะไร เพื่ออะไร
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่มีตัวบุคคล ควรจับใจความให้ได้ว่าเพื่ออะไร ใครทำอะไร ทำกับใคร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร
4. ควรฝึกจับใจความสำคัญของเรื่องสั้น ๆ ก่อนแล้วจึงจับใจความสำคัญของหนังสือขนาดยาวได้ และควรฝึก
จับใจความสำคัญในข้อเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
5. เมื่อจับใจความได้แล้ว ควรใช้ถ้อยคำและข้อความที่สรุปย่อ รวบรัดตรงประเด็น โดยพูดและเขียนเป็น
ภาษาของตนเอง
ข้อควรคำนึงในการใช้วิจารณญาณ มีดังนี้

1. เรื่องที่ฟังหรืออ่านมีลักษณะอย่างไร
2. ผู้พูด ผู้เขียนต้องการอย่างไร
3. แหล่งข่าวน่าเชื่อถือเพียงใด
4. ถ้าเป็นคำสั่ง คำแนะนำของบุคคลต้องดูว่า ผู้พูดมีลักษณะท่าทาง น้ำเสียงเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
5. เรื่องที่ฟังหรืออ่านเป็นเรื่องที่เคยพบเห็นตัวอย่างมาแล้วหรือไม่จะเกิดโทษและประโยชน์ต่อเรามากน้อยเพียงใด
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือการรู้จักใคร่ครวญ พิจารณาเรื่องที่อ่านอย่างละเอียดลึกซึ้งในด้านต่าง ๆ เป็นการอ่าน
ที่ต้องอาศัยความสามารถในการคิดพิจารณาหาเหตุผลมาประกอบ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะด้านการอ่านขั้นสูง จึงควรฝึกให้เป็นนิสัย
เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

How to Make Money in Real Estate Investing

How to Make Money in Real Estate Investing

Lower Your Taxes

Tax incentives for real estate investors can often make the difference in your tax rates. Deductions for rental property can often be used to offset wage income. Tax breaks can often enable investors to turn a loss into a profit.
For which items can investors get tax breaks? You could claim deductions for actual costs you incur for financing, managing and operating the rental property. This includes mortgage interest payments, real estate taxes, insurance, maintenance, repairs, property management fees, travel, advertising, and utilities (assuming the tenant doesn''t pay them). These expenses can be subtracted from your adjusted gross income when determining your personal income taxes. Of course, these deductions cannot exceed the amount of real estate income you receive. In addition to deductions for operating costs, you can also receive breaks for depreciation. Buildings naturally deteriorate over time, and these "losses" can be deducted regardless of the actual market value of the property. Because depreciation is a non-cash expense -- you are not actually spending any money -- the tax code can get a bit tricky. For more information about depreciation and various tax alternatives, ask your tax advisor about Section 1031 of the U.S. Tax Code.

Have a Positive Cash Flow

There are two kinds of positive cash flows: pre-tax and after-tax. A pre-tax positive cash flow occurs when income received is greater than expenses incurred. This sort of situation is difficult to find, but they are usually a strong and safe investment. An after-tax positive cash flow may have expenses that outweigh collected income, but various tax breaks allow for a positive cash flow. This is more common, but it is generally not as strong or safe as a pre-tax positive cash flow.

Regardless of what kind of real estate you choose to invest in, timely collections from your tenants is absolutely necessary. A positive cash flow -- whether it is pre-tax or after-tax -- requires rental income. Be sure to find quality tenants; a thorough credit and employment check is probably a good idea.

Use Leverage

One of the most important factors in determining a solid investment is the amount of equity you are purchasing. Equity is the difference between the actual worth of the property and the balanced owed on the mortgage.

Benefit from Growing Equity

While investing in real estate is relatively complex, it is often worth the extra work. When compared to other financial investments, like bonds or CD's, the return on investment for real estate purchases can often be greater.

The key to real estate investing is equity. Determine an amount of equity that you want to achieve. When you reach your goal, it's time to sell or refinance. Determining the proper amount of equity may require the assistance of a real estate professional.

(c) Copyright 2005 Madan Ahluwalia. All rights reserved.

การกล่าวคำต้อนรับ

17.9 การกล่าวคำต้อนรับ
ในโอกาสที่มีผู้มาใหม่ เช่น เจ้าหน้าที่ใหม่ พนักงานใหม่ นักศึกษาใหม่ หรือมีผู้มาเยี่ยมเพื่อพบปะชมกิจการ การกล่าวต้อนรับควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้

1) เริ่มด้วยการกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาใหม่
2) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการเยี่ยมเยือน เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายต้อนรับนั้นเห็นความสำคัญของการมาเยี่ยม
3) แสดงความหวังว่าผู้มาเยี่ยมจะได้รับความสะดวกสบายระหว่างที่พำนักอยู่ในสถานที่นั้น หรือระหว่างการเยี่ยมเยือนนั้น
4) สรุปเป็นทำนองเรียกร้องให้อาคันตุกะกลับมาเยี่ยมเยือนอีก ส่วนกรณีผู้มาใหม่ก็หวังว่าจะได้ร่วมงานกันตลอดไปด้วยความราบรื่น

17.10 การกล่าวเลี้ยงส่งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่
ในหน่วยงานต่างๆ ถ้าหากว่ามีข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่โยกย้าย หรือออกจากงานก็ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดงานเลี้ยง และมอบของที่ระลึกเพื่อแสดงความอาลัยให้

1) กล่าวปฏิสันถาร
2) กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้ที่จากไปกับผู้ที่อยู่
3) กล่าวถึงคุณความดีทั้งในด้านการงาน และด้านส่วนตัวของผู้ที่จากไป
4) กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของผู้ที่
5) อวยพร

ขอขอบคุณข้อมูล ความรู้ดีๆจาก http://e-learning.mfu.ac.th

การกล่าวคำปราศรัย,การให้โอวาท,การกล่าวสดุดี

การกล่าวสดุดี
การกล่าวสดุดีเป็นสุนทรพจน์อย่างหนึ่ง ที่ใช้พูดยกย่องสรรเสริญคุณความดีของบุคคลรวมทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว การกล่าวสดุดีมุ่งที่จะพูดให้ผู้ฟังได้ตระหนักรำลึกถึงชีวิต และผลงานของบุคคลนั้น การกล่าวสดุดีควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้

1) กล่าวปฏิสันถาร
2) กล่าวถึงประวัติโดยย่อ (สำหรับผู้เสียชีวิตแล้ว)
3) กล่าวถึงคุณความดีหรือผลงานของบุคคลนั้น
4) จบลงด้วยการพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของบุคคล

17.7 การให้โอวาท
การให้โอวาท เป็นสุนทรพจน์ที่ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย เพื่อจะให้ข้อคิด แนะนำตักเตือนและสั่งสอน เนื่องในโอกาสสำคัญๆ เช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตใหม่เนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตร โอวาทของอธิการบดีในวันปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เป็นต้น การให้โอวาทควรยึดแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้

1) ความสำคัญของโอกาสที่ให้โอวาท
2) ให้หลักการ ข้อแนะนำ ตักเตือน ข้อคิดที่สมเหตุผล และอธิบายประกอบให้แจ่มแจ้ง
3) ถ้ามีเวลาพอก็อาจจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วเสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
4) ไม่ควรให้โอวาทหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน
5) ลงท้ายด้วยการอวยชัยให้พร

17.8 การกล่าวคำปราศรัย
คำปราศรัยมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนทรพจน์ในด้านภาษา เนื้อหา และทัศนคติของผู้กล่าว ซึ่งสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ คำปราศรัยที่เป็นการพูดที่เป็นพิธีการ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมมาก่อนเป็นอย่างดีคำปราศรัยอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1) คำปราศรัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรียกว่า กระแสพระราชดำรัส หรือพระราชดำรัส เช่น กระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
2) คำปราศรัยในโอกาสครบรอบปี เช่น คำปราศรัยเนื่องในวันเด็ก เนื่องในวันกาชาดสากล เนื่องในวันกรรมกรสากล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
3) คำปราศรัยในงานพิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า คำกล่าวเปิด…ถ้าเป็นงานที่เป็นพิธีการเรียกว่า “คำปราศรัย” เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในการเปิดอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วราชอาณาจักร เป็นต้น
4) คำปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายหรือเรื่องอื่นๆ เช่น คำปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายการบริหารประเทศ คำปราศรัยเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ เป็นต้น
5) คำปราศรัยซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น คำปราศรัยฯพณฯ หัวหน้าคณะปฏิวัติต่อเยาวชนไทย เป็นต้น

การกล่าวขอบคุณผู้พูด,การกล่าวอวยพร

17.3 การกล่าวแนะนำผู้พูด
การกล่าวแนะนำผู้พูดนั้น มักจะกล่าวในโอกาสที่มีการปาฐกถา หรือในโอกาสที่มีการอภิปราย เช่น การกล่าวแนะนำผู้ดำเนินการอภิปราย และการกล่าวแนะนำวิทยากรในการสัมมนา เป็นต้น

สรุปการกล่าวแนะนำผู้พูด

1) การกล่าวแนะนำผู้พูดและเรื่องที่จะพูด ต้องแนะนำให้เหมาะกับลักษณะ และอารมณ์ผู้ฟัง
2) การแนะนำไม่ควรต่ำกว่า 20 วินาที และไม่เกิน 2 นาที
3) ไม่ควรให้ตัวผู้แนะนำและคำแนะนำเด่นจนเกินไป
4) ไม่ควรให้ผู้พูดรู้สึกขวยเขินเพราะคำยกยอจนเกินควร
5) เลือกใช้คำแนะนำให้เหมาะสม
6) วางการแนะนำตามลำดับขั้นของอารมณ์

17.4 การกล่าวอวยพร
การกล่าวสุนทรพจน์ที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะว่าสังคมไทยมักจะจัดงานมงคลต่างๆ ขึ้นเสมอ เช่น งานมงคลสมรส ขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงส่ง วันขึ้นปีใหม่ ตลอดจนงานมงคลอื่นๆ ตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน
- การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในงานพิธีมงคลสมรสจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที นิยมกล่าวปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติดังนี้

1) กล่าวคำปฏิสันถาร
2) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้มาอวยพร
3) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว
4) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต และการครองรัก
5) อวยพรและชักชวนให้ดื่ม

- การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ทำบุญตักบาตร จัดงานเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกในหมู่ผู้ร่วมงานเดียวกัน ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายการกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้

1) กล่าวคำปฏิสันถาร
2) กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา
3) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่
4) อวยพร

- การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดการกล่าวอวยพรตามประเพณีนิยมนั้น มีการกล่าวอวยพรเมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร และผู้รับเชิญก็จะถือเอาผู้ที่มีอาวุโสในที่ประชุมนั้น หรือบางทีก็เป็นบุตรหัวปี เป็นผู้กล่าวในการกล่าวพิธีเช่นดังกล่าวนี้ มีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้

1) กล่าวคำปฏิสันถาร
2) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวอวยพร
3) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น
4) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
5) อวยพรให้มีความสุข

17.5 การกล่าวขอบคุณผู้พูด
เมื่อการพูดได้จบสิ้นลงแล้ว ผู้กล่าวแนะนำเป็นผู้กล่าวขอบคุณผู้พูดด้วยตามปรกติแล้วผู้กล่าวคำขอบคุณจะกล่าวถึงเรื่องสำคัญของเรื่องที่ผู้พูดได้พูดอย่างสั้นๆ พร้อมทั้งเน้นให้เห็นว่าผู้ฟังจะได้รับประโยชน์จากการฟังครั้งนี้ด้วยอนึ่งในกรณีการสัมมนา ซึ่งมีวิทยากร มีวิธีกล่าวขอบคุณดังนี้

1) เริ่มด้วยการกล่าวคำขอบคุณ
2) สรุปเนื้อหาที่วิทยากรพูดไว้อย่างสั้นๆ พร้อมทั้งกล่าวเชื้อเชิญวิทยากรไว้สำหรับการพูดครั้งต่อไป
3) จบลงด้วยการกล่าวขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง

การพูดในโอกาสต่างๆ

การพูดในโอกาสต่างๆ

การพูดในโอกาสสำคัญ ๆ เป็นการพูดที่เราได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราโดยเฉพาะบุคคลที่ได้รับยกย่องสรรเสริญจากบุคคลในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโอกาสได้รับเชิญให้พูดในโอกาสสำคัญ ๆ ที่มีการจัดงานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลที่เป็นผู้นำในทางสังคม หรือเป็นผู้นำในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องฝึกฝนตนเองในการพูดในลักษณะต่างๆไว้ การพูดในโอกาสต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญควรจะต้องฝึกฝนตนเองเอาไว้การพูดในโอกาสต่าง ๆ เท่าที่เห็นมีอยู่เสมอนั้น มีดังนี้
- การปฏิบัติหน้าที่โฆษก
- การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร
- การกล่าวแนะนำผู้พูด
- การกล่าวอวยพร
- การกล่าวขอบคุณผู้พูด
- การกล่าวคำสดุดี
- การให้โอวาท
- การกล่าวคำปราศรัย
- การกล่าวคำต้อนรับ
- การกล่าวเลี้ยงส่งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่

17.1 การปฏิบัติหน้าที่โฆษก
ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นโฆษก นอกจากจะเป็นผู้ที่มีลีลาการพูดที่น่าฟังแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีไหวพริบและปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว ปราศจากความเก้อเขิน มีอารมณ์รื่นเริงและแจ่มใสอยู่เสมอโฆษกที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้
1) มีความสง่าผ่าเผย
2) เสียงดัง ชัดเจน นุ่มนวล และหนักแน่น
3) ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
4) มีมารยาทในการใช้ถ้อยคำดี
5) รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และเลือกเรื่องที่จะนำมาพูดได้อย่างเหมาะสม
6) ไม่ใช้ถ้อยคำจำเจและซ้ำซาก
7) นำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ
8) ให้เกียรติผู้รับเชิญ และแนะนำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ

17.2 การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร
พิธีกร เป็นบุคคลสำคัญในการชักนำให้การพูดแต่ละครั้งไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ บางครั้งพิธีกรตั้งอยู่ในฐานะเป็นประธาน ในที่ประชุม ผู้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรจะต้องมีความรอบรู้รอบคอบ ละเอียดลออ จะต้องพร้อมไปด้วยคุณสมบัติและรู้หน้าที่ดังต่อไปนี้
- คุณสมบัติของพิธีกร
1) ต้องได้รับการฝึกพูดมาแล้วพอสมควร
2) มีความรอบรู้ระเบียบวิธีการพูดในที่ชุมนุมชน
3) เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
4) เป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น
5) ไม่มีอคติ
6) มีมารยาทดีมีความอ่อนน้อมไม่ลุอำนาจต่อโทสะ
7) มีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อความรู้สึกต่างๆ
8) มีปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกรมีหน้าที่คล้ายคลึงกับโฆษก ต่างกันที่ว่า หน้าที่พิธีกรนั้นใช้ในงานที่เป็นพิธีการที่มีผู้รับเชิญให้มาพูดมากกว่า 1 คนขึ้น พิธีกรมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) วางแผนการพูดแต่ละครั้ง
2) แนะนำกลุ่ม
3) เชิญผู้พูดแต่ละท่านให้ขึ้นมาพูดตามลำดับ
4) จัดระเบียบวาระของการพูดแต่ละครั้งให้เหมาะสมตามสมควรแต่โอกาส

การพูดเพื่อจรรโลงใจ

การพูดเพื่อจรรโลงใจ

การพูดจรรโลงใจเป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกเล่า สิ่งที่เป็นนามธรรมให้ผู้ฟังมีความรู้สึกที่สูงส่ง ดีงาม และให้ได้รับคุณค่าด้านจิตใจลักษณะการพูดจรรโลงใจการพูดจรรโลงใจมีลักษณะแบบบอกเล่า และผู้พูดใช้หลักทั่วไปของการพูดต่อชุมชน แต่ผู้พูดจะต้องปรับการพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือโอกาสของการพูดแต่ละครั้งการพูดจรรโลงใจเป็นการพูดที่ไม่มุ่งเน้นการให้ความรู้ หรือโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้เชื่อตามถ้อยคำของผู้พูด แต่การพูดจรรโลงใจเป็นการพูดที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความพึงพอใจได้ผ่อนคลายอารมณ์ และทำให้มีความสุขและความเพลิดเพลิน การพูดจรรโลงใจในโอกาสต่างๆ กัน เช่น การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวแสดงความยินดีและไมตรีจิต และการกล่าวสั่งสอนหรือให้โอวาท การพูดจรรโลงใจมีหลักการพูด ดังต่อไปนี้

1) พูดตามจุดมุ่งหมายของการพูดจรรโลงใจ ให้เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส เวลาในการพูด
2) พูดโดยคำนึงถึงผู้ฟังผู้พูดควรพูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่สูงส่งดีงามและชี้ให้เห็นถึงอุดมคติหรือให้เห็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจะทำให้ได้รับคุณค่าและประโยชน์การฟัง
3) สร้างบรรยากาศในการพูด โดยแทรกอารมณ์ขันที่ทำให้ผู้ฟังผ่อนคลายหรือมีอารมณ์สุนทรี
4) ใช้ถ้อยคำภาษา อ้างอิง คำคม หรือยกตัวอย่างต่างๆ เป็นอุทาหรณ์ที่ชัดเจนและตรงกับประสบการณ์ ความสนใจ และทัศนคติของผู้ฟังประเภทและตัวอย่างการพูดจรรโลงใจการพูดจรรโลงใจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- พูดจรรโลงใจให้คลายทุกข์ การพูดจรรโลงใจให้บุคคลที่มีความทุกข์ได้คลายทุกข์จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทำให้บุคคลมีกำลังใจที่จะต่อสู้อุปสรรคต่อไป การพูดจรรโลงใจจึงช่วยปลุกปลอบใจให้ผู้มีความทุกข์ มีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่ท้อถอยแม้จะมีอุปสรรคสักเพียงใด
- พูดจรรโลงให้เพิ่มสุข การพูดจรรโลงให้ผู้ฟังมีความสุขการทำได้โดยการบอกเล่าเรื่องที่สนุกสนานแต่มีสาระประโยชน์ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน และมองเห็นโลกนี้สวยงามน่าอยู่ ในขณะเดียวกันก็ได้รับแนวคิดที่ดีจากการฟังอีกด้วยเรื่องที่นำมาพูดจรรโลงใจให้ผู้ฟังมีความสุข ได้แก่ นิทานสนุกๆ การแนะนำหนังสือหรือแนะนำให้ฟังเพลงหรือดูละคร การท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
- พูดจรรโลงใจให้คติข้อคิด การพูดจรรโลงใจให้คติข้อคิดแก่ผู้ฟัง เป็นการพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจที่จะทำความดีหรือนำข้อคิดต่าง ๆ จากการฟังไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้การพูดให้คติข้อคิดมักจะมีลักษณะเป็นการพูดสั่งสอน หรือให้โอวาทในโอกาสสำคัญๆหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดขึ้น ซึ่งผู้พูดจะนำเอาเหตุการณ์นั้นมาบอกเล่าแก่ผู้ฟัง โดยมีจุดมุ่งหมายในการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้แง่คิดและนำข้อคิดต่าง ๆ ไปพิจารณา หรือนำไปปฏิบัติต่อไป

การวางตัวและมารยาทในการพูด,หลักการพูดโน้มน้าวใจ

14. การวางตัวและมารยาทในการพูด

1) ก่อนการพูด หากมีผู้พูดหลายคน ผู้พูดหลักควรนำคณะไปยังเวที ถ้าเป็นคนพูดคนแรก เมื่อแล้วก็ไม่ควรจะลุกไปไหน ควรจะมีมารยาทด้วยการนั่งฟังอย่างพอใจ ถ้าเป็นคนพูดหลังๆ ก็ควรแสดงความสนใจที่จะฟังการพูดของคนก่อนๆ เช่นกัน อย่ามัวหมกมุ่นอยู่กับการจดข้อความย่อ หรือการเตรียมตัวเรื่องที่จะพูดของตนโดยเฉพาะโดยไม่สนใจการพูดของคนอื่นเพราะผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังในที่นั้นตั้งใจฟัง ผู้ฟังจะได้ไม่เสียสมาธิ
2) เมื่อเริ่มพูด เมื่อประธานเริ่มแนะนำ ให้ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉง ในการสงบอย่างปกติและก้าวเดินไปยังที่พูด ผู้พูดควรจะมีท่าทีเป็นมิตร มีความสุภาพ ไม่โอ้อวดมีอารมณ์ขันบ้าง และรู้จักให้เกียรติผู้ฟัง หรือรู้จักนำสิ่งที่ผู้ฟังสนใจหรือผู้ฟังเคยมีประสบการณ์มาเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมกัน หรือความเป็นพวกเดียวกัน
3) ระหว่างการพูด ผู้พูดต้องสนใจอยู่ที่ความคิดและผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจกับตัวเองว่าท่าทางเป็นอย่างไร คนปรบมือให้หรือไม่ แต่ควรคิดแต่เรื่องที่จะพูดให้ดีที่สุดเท่านั้น
4) หลังจากการพูดจบ เวลาจบผู้พูดไม่ควรพูดคำว่า “ขอบคุณ” เว้นแต่จำเป็นคนขอขึ้นมาพูดหรือขอมาพูดเอง ถ้าพูดได้ดีจริงผู้ฟังควรจะเป็นผู้ขอบคุณเมื่อพูดคำสุดท้าย แล้วก็หยุดนิดหนึ่ง ก้มศีรษะเล็กน้อยให้แก่คนฟังแล้วกลับไปนั่งที่ หรือเพื่อเป็นการโอภาปราศรัย อาจกล่าวคำว่า “สวัสดี” แทน “ขอบคุณ” ก็ได้
การพูดจะได้ผลดีหรือไม่เพียงไรนั้นมิได้อยู่กับผู้พูดแต่ฝ่ายเดียว เพราะแม้ว่าผู้พูดจะมีความรู้ความสามารถดีเด่นเพียงใดก็ตาม หากไม่รู้จักผู้ฟังของตนว่าชอบอย่างไร สนใจอะไร หรือไม่รู้เกี่ยวสถานการณ์ในการพูดครั้งนั้น ผู้พูดจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย ผู้พูดที่ดีจึงควรรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูดเสียก่อน

15. หลักการพูดโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่งก็คือ การใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจของบุคคลนั้นทั้งโดยวัจนภาษาและอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ เช่น การโฆษณาสินค้า, การหาเสียงของ ส.ส. ฯลฯ เป็นต้นการโฆษณาสินค้า เป็นการพูดจูงใจผู้ซื้อสินค้าให้เกิดสนใจ หรือยอมรับสินค้า หรือบริการของผู้โฆษณาการโฆษณาหาเสียง เป็นการพูดจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธา ในตัวผู้พูดและนโยบายของผู้พูด ได้แก่ การพูดหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น การโฆษณาความคิดเห็น หรือ การพูดโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นคล้อยตามการโฆษณาความคิดเห็นเป็นการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนความคิดทัศนคติ ค่านิยมซึ่งฝังลึกอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ฟังแล้วหัน มาสนใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้พูดและกระทำตามความประสงค์ของผู้พูด ได้แก่ การประชุมหรือการอภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

การฝึกพูด

การฝึกพูด

การฝึกพูดเพื่อให้มีบุคลิกลักษณะดีนั้น เราควรจะได้ฝึกในเรื่องต่อไปนี้
- ท่าทาง
- เสียง
- สร้างความมั่นใจให้ตนเอง

1) ฝึกท่าทาง
ศีรษะ เมื่อเริ่มพูดควรให้ศีรษะตั้งตรง แต่อาจจะเคลื่อนไหวได้บ้างเล็กน้อยตามเนื้อเรื่องที่พูด
สีหน้า ควรฝึกสีหน้าให้เข้ากับเนื้อเรื่องที่พูด เช่น เมื่อพูดถึงความเศร้า ก็ควรแสดงสีหน้าเศร้า เมื่อพูดถึงความกลัว ก็แสดงสีหน้าหวาดกลัวได้ เป็นต้น ดวงตา เมื่อพูดถึงความยินดี ความกลัว ความประหลาดใจ ให้เปิดตากว้าง ถ้าต้องการแสดงความสุภาพ ก็ให้ลดสายตาลงเบื้องต่ำ แสดงความอ่อนเพลียก็ใช้มือปิดตา เป็นต้นการใช้สายตาเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น ผู้พูดที่ชอบหลบตาผู้ฟังเสมอ เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความไม่มั่นใจ มีความขลาดและหวาดกลัว หรือมีสิ่งซ่อนเร้นอยู่ในใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรากล้าประสานตากับผู้ฟัง ย่อมแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ ความมั่นใจ และเป็นผลทำให้ผู้ฟังมีความศรัทธาต่อผู้พูดริมฝีปาก เป็นส่วนหนึ่งของใบหน้าที่ใช้ประกอบการพูด เพื่อแสดงความรู้สึกให้สัมพันธ์กับการพูดได้ เช่น เมื่อพูดถึงความสุข ความขบขัน ก็บังคับให้มุมปากผายออกให้เห็นรอยยิ้ม ถ้าพูดถึงเรื่องตกใจก็ให้เปิดริมฝีปากกว้าง เป็นต้นมือ อวัยวะส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะเราสามารถทำให้เคลื่อนไหวประกอบการพูดเพื่อแสดงความหมายได้เด่นชัด
- ถ้าเป็นการนั่งพูด ควรวางมือทั้งสองข้างเท้าโต๊ะอย่างสบาย อย่าเอามือเกาหน้าเกาหลังให้วุ่นวาย
- ถ้ายืนควรทิ้งแขนลงข้างลำตัว ส่วนมือจะแบหรือกำหลวมๆ ก็ได้ เมื่อพูดถึงข้อความบางตอน ก็อาจใช้มือประกอบได้บ้างลำตัว ขณะที่พูดอาจโยกตัวได้บ้างเพื่อให้มีชีวิตชีวา การโยกตัวนั้นก็ควรโยกตั้งแต่บั้นเอวขึ้นมา อย่าโยกเฉพาะคอหรือก้น เพราะจะทำให้ดูเหมือนจำอวดหรือหนังตะลุงไป

2) ฝึกเสียง
ระดับเสียง ควรให้ดังพอสมควร เพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้เรื่อง และมีความสนใจที่จะติดตามฟังต่อไปน้ำเสียง ควรให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เช่น ตื่นเต้น เศร้า ดีใจออกเสียงให้ถูกต้อง ที่ควรระวังคือ เสียง /ร/,/ล/ และตัวควบกล้ำต่างๆเน้นเสียง ในตอนที่สำคัญ ๆ เพราะถ้าพูดระดับเสียงเดียวกันหมด ก็จะไม่น่าฟังเว้นจังหวะในที่ควรจะต้องเว้น ในภาษาไทยถ้าเว้นจังหวะไม่ถูกที่ อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

3) ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง
การสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองนั้น อาจจะทำได้ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่จะพูด และวิธีการ พูดให้แตกฉานทุกแง่ทุกมุม ทบทวนและฝึกซ้อม จนเกิดความชำนาญ มีความแคล่วคล่องว่องไวไม่เคอะเขิน ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะที่พูดอย่าให้มีความกังวลใดๆ เป็นอันขาด ทำใจให้สบาย คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยพูดออกไป อย่าพูดก่อนคิด

การฝึกหัดพูดสามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ

1) ฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ คือการฝึกด้วยตนเอง ชอบพูดชอบแสดงออก มีโอกาสจับไมโครโฟนเมื่อไร่ไม่เคยปล่อยให้พลาดโอกาส อาศัยประสบการณ์ชั่วโมงบินมากๆก็อาจกลายเป็นนักพูดที่ดีได้
2) ฝึกจากตำรา ศึกษาจากตำรับตำราก็ดีเหมือนกัน แต่อย่าลืมว่าคนที่หัดว่ายน้ำโดยอ่านจากตำราโดยไม่เคยกระโดดลงน้ำเลย อย่าหวังว่าจะว่ายน้ำเป็น ผู้ศึกษาจากตำราจึงต้องหาโอกาสฝึกปฏิบัติจริงๆ ด้วยการฝึกจากงานสังคมต่างๆ หรือฝึกใช้อาชีพของตนเอง
3) ฝึกโดยมีผู้แนะนำ หมายถึงการมีพี่เลี้ยงที่ดีๆ คอยแนะนำอาจแนะนำซักซ้อมให้เป็นส่วนตัวเป็นครั้งคราวหรือจัดกลุ่มฝึกพูดขึ้นมีการฝึกกันเป็นประจำ หากหาพี่เลี้ยงอย่างที่ว่านี้ไม่ได้ก็ควรสมัครเข้าอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับศิลปะในการพูดซึ่งมีองค์กรต่าง ๆ เปิดสอนกันอยู่มาก

หลักการเลือกเรื่องที่จะพูด,การวิเคราะห์เรื่อง

หลักการเลือกเรื่องที่จะพูด

ในการที่จะพูดที่ใดก็ตาม ผู้พูดควรคำนึงถึงเรื่องที่จะไปพูด ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัดหรือมีความสนใจ ก็จะทำให้ผู้พูดพูดได้ดี และถ้าเรื่องเดียวกันนั้นเป็นที่น่าสนใจของผู้ฟังด้วยผู้ฟังก็จะให้ความสนใจติดตามฟัง ผู้พูดก็ประสบความสำเร็จในการพูด ฉะนั้นถ้าผู้พูดเลือกเรื่องที่ตนถนัดก็จะพูดได้ดีนอกจากผู้พูดจะพิจารณาเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนใจแล้วผู้พูดควรเลือกเรื่องที่จะให้ประโยชน์และความรู้แก่ผู้ฟัง เพราะตามหลักจิตวิทยานั้น คนเราชอบฟังเรื่องที่ตนจะได้รับผลประโยชน์ นอกจากนี้แล้วคนเรายังสนใจเรื่องที่เป็นแก่นสารของชีวิต เรื่องที่กำลังเป็นข่าว เรื่องที่ช่วยขจัดปัญหาของผู้ฟัง เรื่องที่เกี่ยวกับความบันเทิงและงานอดิเรก ฯลฯ

12. การวิเคราะห์เรื่อง

เมื่อผู้พูดจะไปยังที่ใดที่หนึ่งก็ตาม โดยรู้หัวข้อที่จะพูดแล้ว ขั้นตอนในการตระเตรียมไปพูดนั้นอาจแบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ 2 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ และการตระเตรียมเรื่องพูด
การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ (The Audience)เมื่อผู้พูดหัวข้อเรื่องที่จะพูดแล้วก็ควรจะวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ ควรรู้ว่าผู้ฟังคือ ใครมีพื้นฐานการศึกษาเพียงใด อายุเท่าไร เพศชายหรือหญิง มีอาชีพอะไร มีจำนวนเท่าไรจะพูดที่ใด มีเวลาพูดเท่าไร ทั้งนี้จะได้ตระเตรียมเรื่องให้เหมาะกับผู้ฟังเพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจเหมาะสำหรับผู้ฟังกลุ่มหนึ่งแต่อาจไม่เหมาะกับผู้ฟังอีกกลุ่มหนึ่งฉะนั้นการวิเคราะห์ผู้ฟังจึงเป็นการศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปรียบได้ว่าผู้พูดได้รู้จักฟังก่อน
1) วัยของผู้ฟัง ผู้ฟังที่มีวัยต่างกันย่อมจะมีความสนใจและเข้าใจเรื่องที่ฟังต่างกัน การเรียนรู้ถึงอายุ ก็เพื่อจะได้ทราบว่า การพูดกับคนในวัยนั้นๆควรจะใช้วิธีการพูดและคำพูดอย่างไรวัยเด็ก เด็กมีลักษณะซุกซน ไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่มีความอดทนฟังเรื่องได้นานๆ เบื่อง่ายชอบเรื่องสนุกสนาน ตลกขบขันชอบเล่น ฯลฯ เนื่องจากเด็กมีประสบการณ์ความรู้และความสนใจน้อย ดังนั้นถ้าจะพูดให้เด็กฟังหรือเขียนเรื่องให้เด็กอ่าน จึงควรจะเลือกเรื่องที่สนุกสนาน แฝงด้วยมุขตลกหรือเรื่องที่ให้ความบันเทิงเพลิดเพลินหรือเรื่องจินตนาการวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะยังไม่มีการรับผิดชอบในเรื่องใดๆและยังไม่เข้าใจในเหตุการณ์บางอย่างเพราะไม่มีประสบการณ์เพียงพอ แต่เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากทดลองกับสิ่งใหม่ๆ (modernity) ชอบชีวิตที่ตื่นเต้น เรื่องที่ครึกครื้น เรื่องที่เกี่ยวกับโลกในอนาคต เรื่องที่เป็นแบบฉบับในการสร้างความก้าวหน้า ชีวิตที่ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค เรื่องที่เกี่ยวกับความกล้าหาญความภาคภูมิใจ และการนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองและวงศ์ตระกูล ตลอดจนประเทศชาติฉะนั้นการเตรียมเรื่องพูดกับเด็กวัยรุ่นจึงควรมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งในเหตุการณ์ที่ทันสมัย แนวทางที่น่าทดลองน่ากระทำตาม การยอมรับความคิดเห็นและความสามารถของวัยรุ่นอย่างเป็นมิตร การเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือวัยกลางคน วัยกลางคนนี้เป็นวัยที่เริ่มจากอายุ 45 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่มีความรับผิดชอบกำลังสร้างฐานะและมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่อาชีพ การงานและชื่อเสียง เป็นวัยที่มุ่งมั่นในความประพฤติและอุดมคติของตนเอง รักความก้าวหน้า ความคิดอ่านกว้างขวาง และมีประสบการณ์พอสมควร เรื่องที่ควรนำมาพูดควรเกี่ยวกับ การครองชีพ มนุษยสัมพันธ์ กฎหมาย ความก้าวหน้าในชีวิต แนวการศึกษาของเยาวชน สังคมและความเป็นอยู่ อนาคตของเยาวชน ฯลฯ
วัยชรา คนวัยชราเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์มากชอบยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เช่น คุณธรรม เป็นผู้ที่ชอบคิดและมุ่งหวังที่จะเห็นความเจริญก้าวหน้าของครอบครัววงศ์ตระกูลจึงควรเลือกเรื่องเกี่ยวกับธรรมะหรือเรื่องที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม เรื่องธรรมชาติความจำในอดีต สังคมในอดีตที่คนวัยชรามีส่วนสร้างสรรค์หรือเกี่ยวข้อง ฯลฯ ส่วนการจัดเรื่องนั้นควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พูดยกย่องความสามารถ ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล และควรจะพูดในทำนองผู้ปรับทุกข์
2) เพศของผู้ฟัง ความสนใจของผู้ฟังนั้นย่อมขึ้นอยู่กับเพศเหมือนกัน ผู้พูดควรตระเตรียมเรื่องให้เหมาะสมกับเพศของผู้ฟังดังนี้เพศหญิง เพศหญิงมักสนใจในเรื่องความสวยความงาม การบ้านการเรือน การสมาคม การแต่งกาย การเสริมสร้างบุคลิกภาพ ความเคลื่อนไหวของสังคม ความบันเทิง ฯลฯเพศชาย เพศชายมักสนใจในเรื่องการเมือง การงาน สวัสดิภาพของครอบครัว การกีฬา เครื่องยนต์กลไก ฯลฯ เมื่อจะพูดให้เพศชายฟัง ผู้พูดควรตระเตรียมเรื่องให้พร้อม เนื้อเรื่องและคำพูดที่ใช้นั้นควรมีเหตุผลหนักแน่น น่าเชื่อถือ เพราะผู้ชายเป็นเพศที่จะถูกชักจูงโน้มน้าวจิตใจได้ยากกว่าเพศหญิง และเมื่อจะพูดให้เพศหญิงฟัง ผู้พูดควรนำคำที่สุภาพ อ่อนหวานมาใช้ เพราะเพศหญิงเป็นเพศที่อารมณ์ละเอียด อ่อนไหวง่าย
3) ความแตกต่าง ทางความเชื่อถือและศาสนาเป็นที่ทราบกันว่าเชื้อชาติ ศาสนา จารีตประเพณี และความเชื่อถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่คนเรายึดถือกันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งความเชื่อถือและหลักปฏิบัติทางศาสนาบางอย่างก็เป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล แต่คนในสังคมบางกลุ่มก็ยังยึดมั่นและปฏิบัติสืบต่อกันมา ฉะนั้นผู้พูดจึงควรศึกษาและระมัดระวังในเรื่องนี้ ควรจะทราบว่าผู้ฟังส่วนใหญ่ถือศาสนาใด ยึดมั่นแนวปฏิบัติอย่างไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและไม่กล่าวถึง
4) ฐานะและอาชีพของผู้ฟัง (Class Audiences) การเรียนรู้อาชีพฐานะหรือชั้นของผู้ฟังมาก่อนย่อมเป็นผลกำไรของผู้พูดเพราะผู้ที่ต่างอาชีพกันย่อมมีความสนใจต่างกัน เมื่อผู้พูดรู้ว่าผู้ฟังเป็นคนชั้นใดจะได้สามารถตระเตรียมเนื้อหาตลอดจนวิธีการพูดได้ถูกต้อง ฐานะหรือชั้น ของผู้ฟังอาจแบ่งออกได้ดังนี้
- ชนชั้นกลาง (The middiences ) คนชนชั้นกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนที่มีอาชีพการงานเป็นของตนเองเช่น พ่อค้า นักธุรกิจและผู้ที่รับราชการในขั้น “หัวหน้า” คนชั้นกลางเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์มากพอสมควรมีใจคอกว้างขวางมีความอดทนมีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมที่จะฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าในอาชีพตน เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย การปรับปรุงความเป็นอยู่ บุคลิกภาพ สิทธิพิเศษผู้พูดควรเตรียมเรื่องเศรษฐกิจการลงทุน
- ชนชั้นกรรมาชีพ (The Working Class) คนในชนชั้นนี้ได้แก่ ผู้ที่ใช้แรงงาน ซึ่งได้แก่กรรมกร ผู้รับจ้าง ลูกจ้างแรงงานฯลฯ คนในชนชั้นกรรมาชีพนี้เป็นผู้ที่มีความฉลาดพอสมควร (แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนสูง) เป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการทำมาหาเลี้ยงชีพ สนใจในการเมือง เศรษฐกิจ แสวงหาความยุติธรรม รักพวกพ้อง และเกลียดการดูถูกเหยียดหยามฉะนั้นผู้พูดจึงควรเตรียมเรื่องด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้ความเป็นกันเอง หลีกเลี่ยงการพูดดูถูกเหยียดหยาม แต่ควรพูดในทำนองให้คำปรึกษา ให้ความเห็นใจ และให้ผู้ฟังเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพของตน
- ผู้ฟังที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (The Expert Audience) ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญผู้พูดจะต้องตระเตรียมเรื่องที่พูดให้พร้อมและให้ดียิ่ง เนื้อเรื่องที่ค้นคว้ามาพูดนั้นจะต้องมีข้อมูล ข้อเท็จจริงอ้างอิง สนับสนุน และเนื้อเรื่องที่จะนำไปพูดนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในสาขาวิชานั้น ๆ ตรวจดูก่อน
- ผู้ฟังเรื่องทางการเมือง (The Political Audience) ถ้าผู้พูดจะต้องเตรียมเรื่องพูดในแนวการเมืองผู้พูดควรเตรียมตัวล่วงหน้าว่าผู้ฟังส่วนหนึ่งจะเป็นมิตรและอีกส่วนหนึ่งจะคอยคัดค้าน ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อเรื่องที่มีหลักฐานเหตุผลข้อเท็จจริงอ้างอิงได้ ข้อความต่างๆที่นำมาอ้าง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องพาดพิงกับเหตุการณ์จะต้องแน่นอน
- ระดับการศึกษาผู้พูดควรพิจารณาว่าผู้ฟังมีระดับการศึกษามากน้อยเพียงไร ถ้าผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาน้อย ผู้พูดจะต้องเตรียมเรื่องด้วยภาษาง่ายๆ เนื้อหาสั้นกระทัดรัด แต่ถ้าผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาสูง ผู้พูดจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล มีแนวโน้มในด้านวิชาการ
- สถานที่ การรู้ถึงสถานที่ที่จะพูดนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้พูด ควรจะทราบล่วงหน้าเพื่อจะได้ตระเตรียมเนื้อเรื่องและการแต่งกายได้ถูกต้องและเหมาะสม
- เวลา เวลาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้การพูดประสบความสำเร็จหรือไม่ เช่น การพูดในเวลากลางวัน หรือหลังจากอาหารกลางวันแล้วอากาศมักร้อนอบอ้าวผู้ฟังอาจนั่งฟังไม่สบายเท่าที่ควรผู้พูดต้องเตรียมเรื่องพูดให้รวบรัดได้ใจความ ส่วนการพูดใกล้กับเวลาอาหารกลางวันหรือเวลาอาหารเย็นก็ไม่เหมาะ นอกจากนี้ผู้พูดควรทราบล่วงหน้าว่าตนมีเวลาพูดมากน้อยเพียงไร เพราะจะได้เตรียมเรื่องมาพูดให้พอเหมาะกับเวลา
- โอกาส การพูดในแต่ละโอกาสย่อมไม่เหมือนกัน เช่น การพูดให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษา ย่อมแตกต่างไปจากพูดอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิด การใช้ภาษาท่าทาง ตลอดจนการแต่งกายก็เปลี่ยนไป ดังนั้นผู้พูดควรรู้ล่วงหน้าก่อนว่าตนจะพูดในโอกาสอะไร เพื่อจะได้เตรียมเนื้อเรื่องและเตรียมตัวไปพูดได้ถูกต้องและเหมาะสม

ข้อดีของการสื่อสารด้วยคำพูด,ลักษณะของผู้พูดที่ด,คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดีี

7. ข้อดีของการสื่อสารด้วยคำพูด

1) สร้างความเข้าใจให้กับผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว เพราะการใช้คำพูดสื่อสารกันนั้น มักจะเป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งผู้พูดและผู้ฟังมีโอกาสพูดจาโต้ตอบกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
2) เป็นเครื่องมือสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลได้ผลที่สุด แม้แต่คนที่ไม่เคยรู้จักกันการที่ได้พบปะพูดคุยสนทนากันได้เห็นหน้าตา อากัปกิริยา ท่าทาง บุคลิกลักษณะน้ำเสียง ท่วงทำนองการพูด ของแต่ละฝ่ายย่อมจะมีอิทธิพลชักจูงความสนใจ ก่อให้เกิดความประทับใจความสนิทสนมเป็นกันเองได้โดยง่าย
3) สามารถพิสูจน์ได้ว่าคำพูดที่พูดไปได้ผลหรือไม่ทันที เพราะในขณะที่พูดจาโต้ตอบกันนั้นทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสเห็นปฏิกิริยาตอบสนองซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าสิ่งที่พูดออกไปนั้นได้ผลหรือไม่ หรือเกิดผลอย่างไร
4) สามารถดัดแปลงแก้ไขคำพูดหรือยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับโอกาส เวลา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ในการพูดถึงเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าผู้พูดสังเกตเห็นว่าผู้ฟังมีกิริยาท่าทางไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ ผู้พูดอาจปรับเรื่องที่พูดให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

8. ข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยคำพูด

1) สถานที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อการสื่อสารด้วยคำพูด เช่น สถานที่อยู่ห่างไกล หรือมีสิ่งรบกวนมากหรือเวลาจำกัดก็ไม่อาจใช้วิธีสื่อสารโดยการพูดให้ได้ผลได้ นอกจากนี้การสื่อสารด้วยคำพูดมักมีขอบข่ายครอบคลุมผู้ฟังได้ไม่มากนัก
2) เรื่องสื่อสารมีความซับซ้อน หรือเป็นเรื่องนามธรรมที่เข้าใจยาก หรือเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวรายละเอียดข้อมูลต่างๆมาก การใช้คำพูดเพียงประการเดียวอาจทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจการเขียนจะเหมาะสมกว่า
3) สารจากคำพูด เป็นสารที่ไม่คงทน กล่าวคือ พูดเสร็จแล้วก็ผ่านหายไปผู้ฟังไม่มีโอกาสฟังซ้ำหรือไม่สามารถกลับมาทบทวนทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งได้ เมื่อสารนั้นไม่คงทนย่อมจะนำมาเป็นหลักฐานไม่สะดวกนัก
4) มีโอกาสผิดพลาดในแง่ข้อเท็จจริง หรือผิดจากเจตนาที่แท้จริงของผู้พูดได้ง่าย เพราะผู้พูดอาจจะเผอเรอหรือพลาดพลั้งคำพูดต่างๆ ได้นอกจากนี้การสื่อสารด้วยคำพูดยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังนำคำที่ได้ฟังไปตีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ เช่น จะเห็นบ่อยๆ จากบุคคลที่มีชื่อเสียงให้สัมภาษณ์ ภายหลังก็มีการแถลงข้อเท็จจริง หรือแถลงแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ ในวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

9. ลักษณะของผู้พูดที่ดี

การพูดที่ดี หมายถึง การรู้จักใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และบุคลิกภาพต่างๆ ของผู้พูดให้สื่อความหมายแก่ผู้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งรู้จักใช้จรรยามารยาท และประเพณีนิยมอันดีงามเพื่อถ่ายทอดความรู้ความคิด และความต้องการที่เป็นประโยชน์ให้แก่ ผู้ฟังตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างครบถ้วน นิพนธ์ ศศิธร ได้กล่าวถึงการพูดที่ดีต่อชุมชนว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ประการ คือ
1) การพูดที่มีถ้อยคำดี ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นความจริงถ้อยคำที่มีประโยชน์ถ้อยคำที่เป็นที่พึงใจแก่ผู้ฟัง
2) การพูดที่มีความเหมาะสม ได้แก่ความเหมาะสมกับกาลสมัยความเหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้ความเหมาะสมกับโอกาส
3) การพูดที่มีความมุ่งหมาย ได้แก่ความมุ่งหมายทั่วไปความมุ่งหมายเฉพาะบุคคล
4) การพูดที่มีศิลปะการแสดงดีการใช้กริยา สีหน้า และท่าทางให้สอดคล้องกับเรื่องการใช้เสียงชัดเจน มีการเน้นย้ำ และจังหวะวรรคตอน

10. คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดี

นักพูดที่ดีจำต้องปรับปรุงพื้นฐานของตนให้มีคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้น 5 ประการดังนี้

1) เป็นนักฟังที่ดี นักพูดไม่ใช่ฝึกพูดอย่างเดียว ต้องฝึกฟังด้วย ต้องรู้ว่า เมื่อไรควรพูดเมื่อไรควรฟัง การฟังผู้อื่นทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยก็ได้ทบทวนความรู้เดิมที่เรามีอยู่แล้ว ข้อสำคัญถ้าเลือกฟังในสิ่งที่มีประโยชน์ก็จะทำให้เพิ่มคุณค่าให้แก่ตัวเองมากขึ้น
2) ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ นักพูดต้องศึกษาหาความรู้ไม่หยุดยั้ง ความรู้ที่ว่านี้นอกจากจะได้จากการฟังแล้วความรู้ที่ได้จากการอ่านสำคัญที่สุด การอ่านเป็นวิธีตักตวงความรู้ที่รวดเร็วและรวบรัดที่สุด นักพูดต้องรักการอ่านให้มากจะเป็นประโยชน์แก่การพูด การพูดก็จะวนเวียนอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน พอพูดซ้ำมากๆ เข้าก็จะเกิดความเบื่อตัวเอง เมื่อผู้พูดเบื่อตัวเองก็จะไม่มีผู้ฟังคนไหนอยากฟัง
3) ยอมรับฟังคำวิจารณ์ นักพูดต้องยอมรับฟังวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นต้องต้อนรับทั้งคำติและชม น้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น นำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
4) เป็นตัวของตัวเอง นักพูดที่ดีต้องเป็นตัวของตัวเอง อย่าเลียนแบบใคร งานเลียนแบบเป็นงานที่ไร้เกียรติไม่สร้างสรรค์ และไม่ทำความภูมิใจให้แก่ตัวเอง ถ้ามีบุคคลใดเป็นตัวอย่างในการพูดที่ดี ขอให้จดจำนำเอาบางสิ่งบางอย่างของเขามาลองปฏิบัติดู อย่าเลียนแบบเขาทั้งหมด จงเป็นตัวของตัวเอง ได้ของดีจากใครได้ความรู้ข้อคิดดีๆจากใคร ถ้าทำได้ควรเอ่ยนามเขาให้ปรากฏ นอกจากจะได้แสดงมารยาทอันงดงามแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำไม่เคอะเขินอีกด้วย
5) มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น นักพูดต้องมีความสุขและความพอใจที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ฟัง และถ่ายทอดให้จบสิ้นตามที่ผู้ฟังกำหนด นอกเสียจากเวลาหรือเงื่อนไขอื่นบังคับ เมื่อหมดแล้วก็แสวงหาสิ่งใหม่ทุกครั้งที่มีโอกาสพูดขอให้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทำประโยชน์เป็นเกียรติยศที่ผู้ฟังหยิบยื่นให้แก่เรา ซึ่งจะทำให้มีความมุ่งมั่น ความกล้าที่จะทุ่มเทให้กับการพูดทุกครั้ง ขอให้จำง่าย ๆ ว่า “ เป็นนักฟัง ยังศึกษา ท้าวิจารณ์ งานริเริ่ม เติมความสุข ”

ประเภทของการพูด

ประเภทของการพูด
การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการพูดเพียง2 แบบ คือ

• แบบที่ 1 แบ่งตามวิธีพูดมี 4 ประเภท คือ

1) การพูดโดยฉับพลันหรือกระทันหัน (Thelmpromptuspeech)ได้แก่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อนจะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรื่องที่จะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้รับมอบหมายให้พูด เช่น การพูดกล่าวอวยพรในวันเกิด กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว กล่าวต้อนรับผู้มาเยือน กล่าวขอบคุณผู้มีอุปการะสนับสนุน การพูดกะทันหันนี้ หากผู้พูดได้รับเชิญในลักษณะดังกล่าวข้อที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การพูดประสบความสำเร็จ ก็ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
- ต้องคุมสติให้มั่น อย่าประหม่าหรือตกใจตื่นเต้นจนเกินไป ทำจิตใจให้ปกติและสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองด้วยการสร้างความพึงพอใจและความยินดีที่จะได้พูดในโอกาสเช่นนั้น
- ให้นึกถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือได้พบเห็นมา ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ฟังและเป็นเรื่องราวที่เข้ากับบรรยากาศที่จะพูดแม้ว่าขณะนั้นจะมีเวลาโอกาสสั้นๆ ก่อนจะพูดก็ควรนึกคิดรวมทั้งขณะที่เดินจากที่นั่งไปยังที่จะพูด
- กำหนดเรื่องที่จะพูดให้ชัดเจน กำหนดเวลาพูดให้เหมาะสมกับโอกาสและงานนั้นๆอย่าพูดไปโดยไม่มีการกำหนดหัวเรื่องและกำหนดเวลาไว้เพราะจะมีผลให้การพูดไม่ดี คนฟังก็เบื่อหน่าย

2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า (The Extemperamous) การพูดแบบนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูดได้มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนคือ ผู้พูดรู้ว่าตนเองได้รับเชิญหรือจะต้องพูดในเรื่องอะไรบ้าง จึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเท่าที่โอกาสเวลาจะอำนวยให้ ดังนั้นการเตรียมในเรื่องต่างๆ ที่จะพูดเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักพูดจะต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ

3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ (Thespeakingfrommanuscripts) การพูดประเภทนี้เป็นการพูดตามต้นฉบับที่เขียนขึ้นซึ่งเป็นการเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ส่วนมากเป็นการพูดทางพิธีการต่าง ๆ สำคัญๆ เช่น การกล่าวเปิดงานการกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวคำสดุดีการกล่าวคำให้โอวาท การกล่าวต้อนรับที่เป็นพิธีการสำคัญๆ ฯลฯ
การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่านต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้าวรรคตอนและคำศัพท์ที่ยากตลอดทั้งสำนวนการพูดให้เหมาะสม

4) การพูดโดยวิธีท่องจำ (The memorized speaking) การพูดลักษณะนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวท่องจำเนื้อหาอย่างละเอียดจากเอกสาร ตำรา หนังสือต่างๆ อย่างแม่นยำ เช่น การท่องจำตัวเลข จำสุภาษิตคำพังเพย เนื้อหาที่สำคัญๆ การพูดแบบนี้เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ความเพียรพยายามมากในการจดจำเนื้อหา และจะต้องมีเวลาในการเตรียมตัว เช่น การเทศน์ของพระสงฆ์ การสวดอ้อนวอนบวงสรวงพิธีกรรมของพราหมณ์ การทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ และการทำพิธีกรรมของศาสนาต่างๆ เป็นต้น

• แบบที่ 2 แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง มี 2 ประเภท คือ

1) การพูดรายบุคคล เป็นการพูดตัวต่อตัว ได้แก่ การพูดที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การแนะนำตัว เป็นต้น
2) การพูดในที่ชุมนุมชน เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก เป็นการพูดที่มีแบบแผนต้องมีการเตรียมตัว และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การอภิปราย การปาฐกถา การแสดงสุนทรพจน์ เป็นต้น

ส่งสารด้วยการพูด

ส่งสารด้วยการพูด
การพูดมีความสำคัญกับมนุษย์เราอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจกรรมใด ส่วนหนึ่งของการพูดนั้นสามารถสอนและฝึกกันได้ ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตและการฝึกฝน (การพูดที่มีประสิทธิภาพหมายถึงการพูดที่ชัดเจน พูดได้ตรงตามความคิดของผู้พูดหรือเนื้อเรื่องที่พูด สามารถรวบรวมเนื้อหาได้ตรงประเด็น)การพูดแบ่งได้ 2 ประการ คือ การพูดระหว่างบุคคล และ การพูดในกลุ่ม

• การพูดระหว่างบุคคล
เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีเนื้อหาจำกัดแน่นอน ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า แต่เป็นการพูดที่ใช้มากที่สุด ใช้ในชีวิตประจำวัน การพูดชนิดนี้พอจะแยกได้ดังนี้
1) การทักทายปราศรัย
การพูดชนิดนี้เป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันทั้งผู้ที่เรารู้จักอยู่แล้วหรือผู้ที่เรายังเคยไม่รู้จัก โดยการพูดชนิดนี้ผู้พูดควรยิ้มแย้มและไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เมื่อเราทักทายผู้ที่อาวุโสมากกว่าก็ควรที่จะกล่าวคำว่า สวัสดีครับ พร้อมทั้งพนมมือไหว้ การกระทำดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดไมตรีจิตแก่กันทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
2) การแนะนำตนเอง
การแนะนำตัวเองนั้นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องได้พบ ได้รู้จักกับคนอื่นๆอยู่เสมอ การแนะนำตนเองมี 3 โอกาสสำคัญ ดังนี้
- การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ การแนะนำชนิดนี้ควรจะพูดจากันเล็กน้อยก่อนแล้วค่อยแนะนำตัว มิใช่ว่าจู่ๆก็แนะนำตัวขึ้นมา
- การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ การแนะนำชนิดนี้มักจะต้องไปพบผู้ที่ยังไม่รู้จักกันซึ่งจะต้องนัดหมายไว้ล่วงหน้า ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไปให้ตรงตามเวลานัด แนะนำตนเองด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
- การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย ควรแนะนำตนเองเพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง และสามารถคุยหรือประชุมได้อย่างสะดวกใจยิ่งขึ้น
3) การสนทนา
เป็นกิจกรรมที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น พูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ แบ่งได้ 2 แบบคือ
- การสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน การสนทนาชนิดนี้ผู้พูดไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ก็ไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของกันและกัน
- การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก ควรที่จะสำรวมถ้อยคำ กิริยา มารยาท ควรจะสังเกตว่าคู่สนทนานั้นชอบพูดหรือชอบฟัง

• การพูดในกลุ่ม
การพูดในกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา โดยเฉพาะในการศึกษานั้นหากมีการแบ่งกลุ่มให้ทุกคนได้ช่วยกันออกความคิดเห็น ก็จะเป็นการเสริมสร้างทั้งด้านความคิด และด้านทักษะภาษา
1) การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา
การเล่าเรื่องที่ตนได้อ่านหรือฟังมานั้นไม่จำเป็นต้องเล่าทุกเหตุการณ์แต่ควรเล่าแต่ประเด็นที่สำคัญๆ ภาษาที่ใช้เล่าก็ควรเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ ใช้น้ำเสียงประกอบในการเล่าเรื่อง เช่น เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ รวมไปถึงการใช้กริยาท่าทางประกอบตามความเหมาะสมของเรื่องที่เล่า ผู้เล่าควรเรียงลำดับเรื่องให้ถูกต้องและอาจจะสรุปเป็นข้อคิดในตอนท้ายก็ได้
2) การเล่าเหตุการณ์
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มักจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นได้เสมอ ในบางครั้งผู้พูดก็มีความจำเป็นที่จะต้องเล่าเหตุการณ์นั้นให้ผู้อื่นฟัง อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจ ตื่นเต้น โดยการที่จะเล่าเหตุการณ์นั้นๆให้น่าสนใจ ก็ควรที่จะเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลว่าเหตุการณ์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจยังไง ใช้ถ้อยคำและภาษาสำนวนที่ทำให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ เล่าเหตุการณ์ให้ต่อเนื่องกันเพื่อผู้ฟังจะได้ติดตามเรื่องได้ดี น้ำเสียงชัดเจน เน้นตอนที่สำคัญ ใช้ท่าทาง กิริยาประกอบในการเล่าด้วยเพื่อที่จะได้ดูเป็นธรรมชาติ แหละสุดท้ายควรที่จะแสดงข้อคิดเพิ่มเติมตามสมควร

จุดมุ่งหมายของการพูด

จุดมุ่งหมายของการพูด
การพูดแต่ละครั้งมีจุดมุ่งหมายต่างกัน ผู้พูดจะต้องรู้จักจุดมุ่งหมายที่พูดได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการของผู้ฟังมีนักพูดบางท่านเวลาพูดในโอกาสต่างๆ ไม่เข้าใจไม่รู้ซึ้งถึงความมุ่งหมายที่เขาต้องการให้พูด แต่กลับไปพูดนอกเรื่องที่ไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ก็เป็นผลทำให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายไม่ได้รับประโยชน์จากการฟังเท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้นักพูดที่ดีจะต้องศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจความมุ่งและวัตถุประสงค์ที่จะพูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดตรงกับความมุ่งหมายที่วางไว้ โดยกำหนดได้ดังนี้
1) การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้ บางครั้งผู้พูดต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูด เช่นนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการพูดด้วยการบรรยาย อธิบาย พรรณนา เล่าเรื่อง ชี้แจง สาธิตและวิธีเสนอรายงาน ฯ
2) การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายๆ แบบเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิดเห็นคล้อยตาม หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดตั้งความมุ่งหมายไว้ เช่น การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดให้ประชาชนเลือกตนเองเป็นผู้แทนของนักการเมือง การพูดโฆษณาขายสินค้าของผู้แทนบริษัท ฯ
3) การพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดต้องเข้าใจว่าบรรยากาศในการพูดก็ดี ความต้องการของผู้ฟังก็ดี เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิงควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความนึกคิดของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด เช่น การกล่าวคำสดุดี กล่าวคำอวยพร กล่าวขอบคุณ หรือกล่าวคำปราศรัยในงานบันเทิงต่างๆ ที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ
4) การพูดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือคำตอบต่างๆกับการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูดได้เป็นอย่างดีหรือสามารถตอบปัญหาต่างๆ ที่ผู้ฟังสงสัยอยากจะรู้อยากจะฟังจากผู้พูด จึงเป็นการพูดในเชิงวิชาการหรือในแนวทางขจัดปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ให้ปรากฏอย่างมีเหตุมีผล บางครั้งก็เป็นการพูดเพื่อตอบปัญหาของผู้ที่มีความสงสัยถามปัญหาขึ้นมา เช่น การพูดสัมมนาในทางวิชาการ การพูดตอบกระทู้คำถามของรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี
5) การพูดเพื่อแนะนำและชี้แนะเรื่องต่างๆการพูดแบบนี้ เป็นการพูดในเวลาจำกัดตามลักษณะเรื่องแนะนำและเวลาที่จะอำนวยให้ ส่วนมากเป็นการพูดแนะนำบุคคล แนะนำการปฏิบัติงานและลักษณะของงานที่ทำของหน่วยต่างๆ การพูดให้คำแนะนำมุ่งการพูดเพื่อให้ผู้ฟังทราบเฉพาะข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างย่อๆ พอกับเวลา ใช้กับการรายงานตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา การแนะนำสรุปงานในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาในโอกาสตรวจเยี่ยม ฯ

4. องค์ประกอบของการพูด
ธรรมชาติของการพูดโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
1) ผู้พูด ผู้พูดทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อไปให้ผู้ฟัง ดังนั้น ผู้พูดจะต้องมีความสามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะของตนเอง ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปสู่ผู้ฟังให้ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ความสามารถของผู้พูดที่จะทำให้ฟังได้เข้าใจมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ผู้พูดมีความสามารถในการใช้ภาษา เสียง และกิริยาท่าทางเพียงไรผู้พูดมีเจตคติต่อเรื่องที่จะพูด และต่อผู้ฟังแค่ไหน ผู้พูดมีระดับความรู้ในเรื่องที่พูดมากน้อย และลึกซึ้งเพียงใดผู้พูดมีฐานะทางสังคม พื้นฐานทางจริยธรรม และวัฒนธรรมอยู่ในระดับใด
2) สาร เนื้อหาที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องมีคุณค่า และคุ้มค่าแก่การเสียเวลาของผู้ฟัง ดังนั้น สารที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องเตรียมมาแล้วอย่างดี เช่น การ คัดเลือก จัดลำดับขั้นตอน และการฝึกฝนตนเองของผู้พูดอีกส่วนหนึ่ง
3) สื่อ หมายถึง สิ่งที่นำสารไปสู่ผู้ฟัง ได้แก่ เวลา สถานที่ อากาศ และเครื่องรับรู้ต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น
4) ผู้ฟัง ผู้ฟังอยู่ในฐานะที่จะต้องรับสารของผู้พูดโดยอาศัยสื่อเป็นเครื่องนำพาผู้ฟังจะสามารถรับสารได้ตรงกับเจตนาของผู้พูดได้มากน้อยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ เช่น ทักษะ ความพร้อม ความสนใจ พื้นความรู้ วัฒนธรรม และเจตคติของผู้ฟังอีกด้วย
5) ปฏิกิริยาจากผู้ฟัง ในขณะที่ผู้ฟังรับสารและแปลสารนั้น ก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบ เช่น เมื่อพูดถูกใจหรือเป็นที่พอใจ ก็จะมีอาการผงกศรีษะ ปรบมือหัวเราะ ยิ้ม และแสดงให้เห็นถึงการชื่นชมพร้อมกับตั้งใจฟัง แต่เมื่อพูดไม่ถูกใจหรือไม่พอใจ ก็จะมีการโห่และแสดงให้เห็นถึงความชัง และขัดแย้งต่อผู้พูด เป็นต้น

ความหมายของการพูด

การพูด


1. ความหมายของการพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ผู้พูดสามารถใช้ทั้งวจนะภาษาและอวัจนะภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้ชัดเจนและรวดเร็วการพูด หมายถึง การสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียง และกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง

วาทการ เป็นคำศัพท์หนึ่ง ซึ่งทางวิชาการนิยมใช้แทน การพูด พจนานุกรมราช-บัณฑิตยสถาน (2513:831) ได้ให้ความหมายของคำว่า “วาท” หมายถึง คำพูด ถ้อยคำ,ลัทธิรวมกันเข้าเป็นวาทการ “วาทการ” หมายถึง กิจพูดหรือกิจเกี่ยวกับถ้อยคำ, งานพูดหรืองานเกี่ยวกับถ้อยคำในการสื่อสาร การพูด หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง ในการติดต่อสื่อสารด้วยการพูด ผู้พูดจะต้องระลึกว่าไม่เพียงแต่พูดเท่านั้นจะต้องรู้จักพูดให้ดีด้วย ดังนั้นการพูดที่ดีมีความหมายดังนี้ การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึกและความต้องการ ที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูดมีนักการศึกษาหลายคนให้ความหมายของการพูดไว้พอจะสรุปได้ ดังนี้ การพูดคือกระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษาน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อการพูดคือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกโดยใช้ภาษาและเสียงสื่อความหมายการพูด เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอานุภาพมากที่สุดในโลกการพูด เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

2. ความสำคัญของการพูด
การพูดเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการสื่อสารของมนุษย์มาแต่สมัยโบราณ คนสมัยเก่าใช้วิธีพูดด้วยการบอกเล่าต่อๆ กันเพื่อประโยชน์ต่อการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกๆ หลานๆหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับตนสืบเนื่องกันมาไม่ขาดสาย ปัจจุบันการพูดก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทั้งนี้เพราะโลกได้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เกิดมีนวัตกรรมทางการศึกษา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ภาพยนตร์แถบบันทึกเสียงและภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้แพร่หลายอยู่ทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีส่วนช่วยให้การสื่อสารทางการพูดให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง ทั้งในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วอิทธิพลของคำพูดสามารถทำให้ผู้พูดประสบความสำเร็จในด้านต่างๆมาแล้วจำนวนมากโดยเฉพาะอาชีพด้านการพูด เช่น ครูอาจารย์ พระสงฆ์ นักการเมือง นักประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
การพูดดีย่อมถือว่าเป็นคุณสมบัติเด่นที่จะสร้างศรัทธา ความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้ฟังในทางพระพุทธศาสนายกย่องการพูดดีว่า วจีสุจริต หรือ มธุรสวาจา เพราะเป็นการพูดในทางสร้างสรรค์ เป็นการพูดของคนฉลาด สามารถให้เกิดประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง ดังสุนทรภู่จินตกวีเอกของไทยได้ประพันธ์กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในสุภาษิตสอนหญิงว่า” เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ”ในนิราศภูเขาทอง ท่านสุนทรภู่ก็ได้ประพันธ์เน้นความสำคัญของการพูดเอาไว้ตอนหนึ่งว่า “ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา “

ความหมายของการอ่าน

การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ ดังคำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษที่ว่า “การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์

1. ความหมายของการอ่าน
การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน

2. ความสำคัญของการอ่าน
ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย แสดงถึงความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตามผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

3. จุดประสงค์ของการอ่าน
ในการอ่านบุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ
1) การอ่านเพื่อความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง การอ่านเพื่อความรอบรู้เป็นการอ่านที่จำเป็นที่สุดสำหรับครู เพราะความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ แม้จะได้ศึกษามามากจากสถาบันการศึกษาระดับสูง ก็ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้าเพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของโลกข้อความรู้ต่าง ๆ อาจมิได้ปรากฏชัดเจนในตำรา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทต่าง ๆแม้ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิงเสมอ
2) การอ่านเพื่อความคิดแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือจริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำความคิดที่ได้อ่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางเรื่องผู้อ่านอาจเสนอความคิดโดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิดผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำนองคลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุดผู้อ่านที่ขาดวิจารณญาณมีความคิดเป็นเรื่องจูงใจให้คนทำความผิดนับว่าขาดประโยชน์ทางความคิดที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดายการอ่านประเภทนี้จึงต้องอาศัยการศึกษาและการชี้แนะที่ถูกต้องจากผู้มีประสบการณ์ในการอ่านมากกว่าครูจึงต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านเพื่อความคิดของตนเองและเพื่อชี้แนะหรือสนับสนุนนักเรียนให้พัฒนาการอ่านประเภทนี้
3) การอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นการอ่านเพื่อฆ่าเวลา เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง บางคนที่มีนิสัยรักการอ่านหากรู้สึกเครียดจากการอ่านหนังสือเพื่อความรู้ อาจอ่านหนังสือประเภทเบาสมองเพื่อการพักผ่อน หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภทนี้มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดีประเทืองอารมณ์เป็นต้นจุดประสงค์ในการอ่านทั้ง 3 ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ในการอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกจากกันอย่างชัดเจน
4) คุณค่าของการอ่าน ในการส่งเสริมการอ่าน ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่าน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกหนังสือด้วย คุณค่าดังกล่าวมามีดังนี้
• คุณค่าทางอารมณ์หนังสือที่ให้คุณค่าทางอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดีที่มีความงามทั้งถ้อยคำ น้ำเสียง ลีลาในการประพันธ์ ตลอดจนความงามในเนื้อหา อาจเรียกได้ว่ามี “รส” วรรณคดี
ซึ่งตำราสันสกฤต กล่าวว่า มีรส 9 รส คือ
1 รสแห่งความรักหรือความยินดี
2 รสแห่งความรื่นเริง
3 รสแห่งความสงสาร
4 รสแห่งความเกรี้ยวกราด
5 รสแห่งความกล้าหาญ
6 รสแห่งความน่ากลัวหรือทุกขเวทนา
7 รสแห่งความเกลียดชัง
8 รสแห่งความประหลาดใจ
9 รสแห่งความสงบสันติในวรรณคดีไทยก็แบ่งเป็น 4 รส คือ
- เสาวจนี การชมความงาม
- นารีปราโมทย์ การแสดงความรัก
- พิโรธวาทัง การแสดงความโกธรแค้น
- สัลลาปังคพิไสย การคร่ำครวญ
หลายท่านคงเคยได้ศึกษามาแล้ว หนังสือที่มิใช่ตำราวิชาการโดยตรง มักแทรกอารมณ์ไว้ด้วยไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เพื่อให้น่าอ่านและสนองอารมณ์ของผู้อ่านในด้านต่าง ๆ
• คุณค่าทางสติปัญญาหนังสือดีย่อมให้คุณค่าทางด้านสติปัญญา อันได้แก่ ความรู้และความคิดเชิงสร้างสรรค์ มิใช่ความคิดในเชิงทำลายความรู้ในที่นี้นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้วยังรวมถึงความรู้ทางการเมือง สังคม ภาษา และสิ่งต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเสมอ แม้จะหยิบหนังสือมาอ่านเพียง 2-3 นาทีผู้อ่านก็จะได้รับคุณค่าทางสติปัญญาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งหนังสืออาจจะปรากฏในรูปของเศษกระดาษถุงกระดาษ แต่ก็จะ “ให้ ” บางสิ่งบางอย่างแก่ผู้อ่านบางครั้งอาจช่วยแก้ปัญหาที่คิดไม่ตกมาเป็นเวลานานทั้งนี้ย่อมสุดแต่วิจารณญาณและพื้นฐานของผู้อ่านด้วยบางคนอาจมองผ่านไปโดยไม่สนใจแต่บางคนอาจมองลึกลงไปเห็นคุณค่าของหนังสือนั้นเป็นอย่างยิ่งคุณค่าทางสติปัญญาจึงมิใช่ขึ้นอยู่กับหนังสือเท่านั้น หากขึ้นอยู่กับผู้อ่านด้วย
• คุณค่าทางสังคม การอ่านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาแต่เป็นโบราณกาล หากมนุษย์ ไม่มีนิสัยในการอ่าน วัฒนธรรมคงสูญสิ้นไป ไม่สืบทอดมาจนบัดนี้ วัฒนธรรมทางภาษา การเมือง การประกอบอาชีพ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ เหล่านี้อาศัยหนังสือและการอ่านเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และพัฒนาให้คุณค่าแก่สังคมนานัปการ หนังสืออาจทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไปได้หากมีคนอ่านเป็นจำนวนมาก หนังสือและผู้อ่าน จึงอาศัยกันและกันเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมของมนุษย์ในสังคมที่เจริญแล้ว จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มคนที่ไม่มีภาษาเขียน ไม่มีหนังสือไม่มีการอ่านวัฒนธรรมของสังคมนั้นมักล้าหลัง ปราศจากการพัฒนา การอ่านจึงให้คุณค่าทางสังคมในทุกด้าน
eSchool News is now proud to present our latest headlines in a Really Simple Syndication (RSS) format. This XML feed can be used in any RSS newsreader, enabling eSN users to keep track of our latest headlines along with all of their other RSS feeds. Because it is written in XML, the eSchool News RSS feed can also be called into your school's website or any other web page.

ความหมายของการฟัง

การฟัง


1. ความหมายของการฟัง
การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับสารทางหูการได้ยินเป็นการเริ่มต้นของการฟังและเป็นเพียงการกระทบกันของเสียงกับประสาทตามปกติ จึงเป็นการใช้ความสามารถทางร่างกายโดยตรง ส่วนการฟังเป็นกระบวนการทำงานของสมองอีกหลายขั้นตอนต่อเนื่องจากการได้ยินเป็นความสามารถที่จะได้รับรู้สิ่งที่ได้ยิน ตีความและจับความสิ่งที่รับรู้นั้นเข้าใจและจดจำไว้ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

2. จุดมุ่งหมายของการฟัง
เวลาเราฟังเรามักไม่ทันคิดว่า เราฟังเพื่อความมุ่งหมายอะไรแต่เรารู้ว่า เมื่อเราไปฟังดนตรี เราฟังเพื่อความเพลิดเพลินและความสุขใจเป็นสำคัญ เมื่อไปฟังปาฐกถาเราอาจฟังเพื่อให้ได้รับความรู้และได้รับความเพลิดเพลินด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ดีหากเรากำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังแต่ละครั้งแต่ละเรื่องไว้ก็จะทำให้เราตั้งใจฟังทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่ฟังและได้รับประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่ เราพอจะแบ่งจุดมุ่งหมายของการฟังออกได้ดังนี้
1) การฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
2) การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
3) การฟังเพื่อรับความรู้
4) การฟังเพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ

3. ประโยชน์ของการฟัง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้
ประโยชน์ต่อตนเอง
1) การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่างๆ ไม่มีผู้พูดคนใดที่ชอบให้คนอื่นแย่งพูดหรือไม่ยอมฟังคำพูดของตนเอง การฟังจึงเป็นพฤติกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตรทำให้เกิดความเข้าใจ การยอมรับและความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
2) การฟังที่ดีทำให้เราได้รู้เรื่องราวที่ฟังโดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด
3) การฟังที่ดีช่วยสามารถพัฒนาสมรรถภาพการใช้ภาษา ในทักษะด้านอื่น ๆ กล่าวคือการฟังช่วยให้ผู้ฟังเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของคนอื่น นับตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการพูด การปรับปรุงบุคลิกภาพในการพูด และวิธีการเสนอสารที่มีประสิทธิผล
4) การฟังที่ดีเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางความคิด ผู้ฟังได้พัฒนาพื้นฐานความรู้ และสติปัญญาจากการรวบรวมข้อมูลและข้อคิดต่างๆ จากการฟัง
5) การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน
ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม ตัวอย่างเช่น การฟังการอภิปรายเรื่อง การรักษาสุขภาพ ส่วนบุคคล ผู้ฟังได้รับความรู้แนวคิดต่างๆ ในการรักษาสุขภาพจากการฟัง ถ้าผู้ฟังนำไปปฏิบัติตาม ผู้ฟังย่อมมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ในขณะเดียวกันสังคมนั้นจะมีสมาชิกของสังคมที่มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. หลักการฟัง การฟังที่ดีมีหลักสำคัญในการฟังดังนี้
1) ฟังให้ตรงความหมาย
2) ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
3) ฟังเพื่อหาข้อโต้แย้ง หรือคล้อยตาม
4) ฟังเพื่อความรู้
ในการฟังแต่ละครั้ง อาจมีจุดมุ่งหมายในการฟังสองหรือสามประการในการฟังแต่ละครั้งดังนั้น เราจะสังเกตเห็นในการฟังแต่ละครั้งนั้น บางทีเราฟังการอภิปรายเราต้องใช้เหตุผลในการฟังคือเราต้องใช้การฟังเพื่อหาข้อโต้แย้งหรือคล้อยตามหรือการฟังสารเพื่อความจรรโลงใจเราต้องใช้เหตุผลในการฟังแตกต่างกันออกไป

การสื่อสารของมนุษย์

การสื่อสารของมนุษย์



1. องค์ประกอบของการสื่อสาร
1) บุคคล 2 ฝ่าย
2) วิธีการติดต่อ
3) เรื่องราวให้รับรู้ความหมายร่วมกัน
ทั้ง 3 ส่วนนี้มิอาจขาดได้แม้แต่ส่วนเดียวมิฉะนั้นการสื่อสารไม่อาจจะเกิดขึ้นได้


2 ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
อาจจะแบ่งได้เป็น2ส่วนคือผู้พูดและผู้ฟังหรือจะเป็นคนเล่ากับคนฟังคนแสดงกับคนดูบุคคล2ฝ่ายนี้เรียกเป็น
ทางการว่า ผู้รับสาร และ ผู้ส่งสาร

3 สื่อ
อาจใช้ได้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ


4. สาร การตอบสนอง
• ผู้ส่งสาร
• ผู้รับสื่อ
สื่อ คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ สภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1) วัจนภาษา (การพูด การเขียน)
2) อวัจนภาษา (เครื่องหมาย สัญญาณมือ)


ในที่นี้เราจะกล่าวถึงอวัจนภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร อวัจนภาษา มีดังนี้
การแสดงออกทางดวงหน้า การแสดงออกทางดวงหน้านั้นเป็นเครื่องแสดงเจตนาการสื่อสารได้หลายอย่าง เช่น ขอร้อง ขมขู่
ท่ายืนท่านั่งและการทรงตัวสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการรับส่งสารมากเช่นการพูดกับบุคคลที่มีความอาวุโส มากกว่าไม่ควรยืนล้วงกระเป๋า หรือเวลานั่งก็ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
การแต่งกายควรแต่งตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสภาพแวดล้มทางสังคมโดยเฉพาะการแต่งกายนั้นควรสุภาพ เรียบร้อยเพื่อให้ผู้ที่เราสื่อสารด้วยมีความเชื่อถือ
การเคลื่อนไหวในขณะที่พูดย่อมมีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นธรรมดา ทั้งนี้ต้องให้เหมาะกับเนื่อหาของสารจึงจะช่วยให้เกิด การสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น
การใช้มือและแขนการใช้มือให้สอดคล้องกับคำพูด จะช่วยเน้นความหมายของสารที่ส่งออกไปได้มาก เช่นการบอกทิศทาง
การใช้นัยน์ตานัยน์ตาของผู้พูดสามารถแสดงอารมณ์และความรู้สึกของสารที่เล่าไปได้มากยิ่งขึ้น
การใช้น้ำเสียงคำพูดคำเดียวกัน เปล่งออกไปด้วยน้ำเสียงที่ต่างกัน จะสื่อความหมายต่างๆกันไปได้ ขึ้นอยู่กับความดังและเสียงสูง-ต่ำ เช่น ถ้าพูดหรือเน้นคำพูดนั้นดังๆก็จะเป็นการเตือนได้

การใช้คำให้เหมาะสม

การใช้คำให้เหมาะสม

การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเสียงและความหมาย การรู้จักเลือกคำมาใช้
ให้ถูกต้องควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

1 การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ความหมายของคำ ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้คือ
1.1 คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย
- ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตีความเป็นอย่างอื่น
- ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆเป็นความหมายที่เพิ่มขึ้นจาก
ความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม
1.2 คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมีความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง
1.3 คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้

2 การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์
ไวยากรณ์หมายถึงหลักว่าด้วยรูปและระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยคชนิดของคำแบ่งออกเป็น
๗ ชนิด ได้แก่
คำนาม
คำสรรพนาม
คำกริยา
คำวิเศษณ์
คำบุพบท
คำสันธาน
คำอุทาน

3 การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง
การเขียนสะกดคำเนเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขีนยสะกดบกพร่องหรือผิดความาหมายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้
ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภทต่างๆ ดังนี้
คำสมาส

คำพ้องเสียง
คำที่ใช้ ซ, ทร
คำที่ใช้ ใ-, ไ-
คำที่ออกเสียง อะ
การใช้วรรณยุกต์
คำที่มีตัวการันต์
คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

การเขียน ความรู้พื้นฐานทางการเขียน

ความรู้พื้นฐานทางการเขียน

หาความรู้เร่งให้
ลืมย่อมแก้ด้วยจำ
จำมากนักจักทำ
การจดจึ่งต้องให้ แม่นยำ
จดไว้
ตนดุจ ห้องสมุด
ชอบใช้ชาญเขียน

จากโครงสี่สุภาพข้างต้นแสดงให้ทราบถึงความสำคัญของการเขียนได้เป็นอย่างดี การเขียนจึงเป็นอีกทักษะหนึ่งทางภาษาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ การมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนก็จะทำให้เกิดความเข้าใจและลงมือเขียนได้ง่ายขึ้น เพราะได้ทราบแนวทางการเขียนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง

1. ความหมายของการเขียน
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจจากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึกความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จรับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2. ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ
นอกจากมีความจำเป็นดังกล่าวแล้ว อาจกล่าวถึงความสำคัญของการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้
1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน
2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน
3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์
4) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น
5) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป
6) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
7) เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน
8) เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง
9) เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดงความรู้สึกและแนวคิด
10) เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเขียนย่อความ

การเขียนย่อความ

การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อเรื่องอะไร
- ใครเป็นผู้แต่ง
- จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
- มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- ความฉบับแรกว่าอะไร
- ใครตอบเมื่อไร
- มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อ…..ของใคร
- กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
- เรื่องอะไร (ถ้ามี)
- เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
- ณ ที่ใด
- เมื่อไร
- ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
- มีความว่า……
ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.