วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การฝึกพูด

การฝึกพูด

การฝึกพูดเพื่อให้มีบุคลิกลักษณะดีนั้น เราควรจะได้ฝึกในเรื่องต่อไปนี้
- ท่าทาง
- เสียง
- สร้างความมั่นใจให้ตนเอง

1) ฝึกท่าทาง
ศีรษะ เมื่อเริ่มพูดควรให้ศีรษะตั้งตรง แต่อาจจะเคลื่อนไหวได้บ้างเล็กน้อยตามเนื้อเรื่องที่พูด
สีหน้า ควรฝึกสีหน้าให้เข้ากับเนื้อเรื่องที่พูด เช่น เมื่อพูดถึงความเศร้า ก็ควรแสดงสีหน้าเศร้า เมื่อพูดถึงความกลัว ก็แสดงสีหน้าหวาดกลัวได้ เป็นต้น ดวงตา เมื่อพูดถึงความยินดี ความกลัว ความประหลาดใจ ให้เปิดตากว้าง ถ้าต้องการแสดงความสุภาพ ก็ให้ลดสายตาลงเบื้องต่ำ แสดงความอ่อนเพลียก็ใช้มือปิดตา เป็นต้นการใช้สายตาเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น ผู้พูดที่ชอบหลบตาผู้ฟังเสมอ เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความไม่มั่นใจ มีความขลาดและหวาดกลัว หรือมีสิ่งซ่อนเร้นอยู่ในใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรากล้าประสานตากับผู้ฟัง ย่อมแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ ความมั่นใจ และเป็นผลทำให้ผู้ฟังมีความศรัทธาต่อผู้พูดริมฝีปาก เป็นส่วนหนึ่งของใบหน้าที่ใช้ประกอบการพูด เพื่อแสดงความรู้สึกให้สัมพันธ์กับการพูดได้ เช่น เมื่อพูดถึงความสุข ความขบขัน ก็บังคับให้มุมปากผายออกให้เห็นรอยยิ้ม ถ้าพูดถึงเรื่องตกใจก็ให้เปิดริมฝีปากกว้าง เป็นต้นมือ อวัยวะส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะเราสามารถทำให้เคลื่อนไหวประกอบการพูดเพื่อแสดงความหมายได้เด่นชัด
- ถ้าเป็นการนั่งพูด ควรวางมือทั้งสองข้างเท้าโต๊ะอย่างสบาย อย่าเอามือเกาหน้าเกาหลังให้วุ่นวาย
- ถ้ายืนควรทิ้งแขนลงข้างลำตัว ส่วนมือจะแบหรือกำหลวมๆ ก็ได้ เมื่อพูดถึงข้อความบางตอน ก็อาจใช้มือประกอบได้บ้างลำตัว ขณะที่พูดอาจโยกตัวได้บ้างเพื่อให้มีชีวิตชีวา การโยกตัวนั้นก็ควรโยกตั้งแต่บั้นเอวขึ้นมา อย่าโยกเฉพาะคอหรือก้น เพราะจะทำให้ดูเหมือนจำอวดหรือหนังตะลุงไป

2) ฝึกเสียง
ระดับเสียง ควรให้ดังพอสมควร เพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้เรื่อง และมีความสนใจที่จะติดตามฟังต่อไปน้ำเสียง ควรให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เช่น ตื่นเต้น เศร้า ดีใจออกเสียงให้ถูกต้อง ที่ควรระวังคือ เสียง /ร/,/ล/ และตัวควบกล้ำต่างๆเน้นเสียง ในตอนที่สำคัญ ๆ เพราะถ้าพูดระดับเสียงเดียวกันหมด ก็จะไม่น่าฟังเว้นจังหวะในที่ควรจะต้องเว้น ในภาษาไทยถ้าเว้นจังหวะไม่ถูกที่ อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

3) ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง
การสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองนั้น อาจจะทำได้ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่จะพูด และวิธีการ พูดให้แตกฉานทุกแง่ทุกมุม ทบทวนและฝึกซ้อม จนเกิดความชำนาญ มีความแคล่วคล่องว่องไวไม่เคอะเขิน ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะที่พูดอย่าให้มีความกังวลใดๆ เป็นอันขาด ทำใจให้สบาย คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยพูดออกไป อย่าพูดก่อนคิด

การฝึกหัดพูดสามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ

1) ฝึกพูดด้วยวิธีธรรมชาติ คือการฝึกด้วยตนเอง ชอบพูดชอบแสดงออก มีโอกาสจับไมโครโฟนเมื่อไร่ไม่เคยปล่อยให้พลาดโอกาส อาศัยประสบการณ์ชั่วโมงบินมากๆก็อาจกลายเป็นนักพูดที่ดีได้
2) ฝึกจากตำรา ศึกษาจากตำรับตำราก็ดีเหมือนกัน แต่อย่าลืมว่าคนที่หัดว่ายน้ำโดยอ่านจากตำราโดยไม่เคยกระโดดลงน้ำเลย อย่าหวังว่าจะว่ายน้ำเป็น ผู้ศึกษาจากตำราจึงต้องหาโอกาสฝึกปฏิบัติจริงๆ ด้วยการฝึกจากงานสังคมต่างๆ หรือฝึกใช้อาชีพของตนเอง
3) ฝึกโดยมีผู้แนะนำ หมายถึงการมีพี่เลี้ยงที่ดีๆ คอยแนะนำอาจแนะนำซักซ้อมให้เป็นส่วนตัวเป็นครั้งคราวหรือจัดกลุ่มฝึกพูดขึ้นมีการฝึกกันเป็นประจำ หากหาพี่เลี้ยงอย่างที่ว่านี้ไม่ได้ก็ควรสมัครเข้าอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับศิลปะในการพูดซึ่งมีองค์กรต่าง ๆ เปิดสอนกันอยู่มาก

ไม่มีความคิดเห็น: