วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การใช้คำให้เหมาะสม

การใช้คำให้เหมาะสม

การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเสียงและความหมาย การรู้จักเลือกคำมาใช้
ให้ถูกต้องควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

1 การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ความหมายของคำ ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้คือ
1.1 คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย
- ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตีความเป็นอย่างอื่น
- ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆเป็นความหมายที่เพิ่มขึ้นจาก
ความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม
1.2 คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมีความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง
1.3 คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้

2 การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์
ไวยากรณ์หมายถึงหลักว่าด้วยรูปและระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยคชนิดของคำแบ่งออกเป็น
๗ ชนิด ได้แก่
คำนาม
คำสรรพนาม
คำกริยา
คำวิเศษณ์
คำบุพบท
คำสันธาน
คำอุทาน

3 การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง
การเขียนสะกดคำเนเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขีนยสะกดบกพร่องหรือผิดความาหมายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้
ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภทต่างๆ ดังนี้
คำสมาส

คำพ้องเสียง
คำที่ใช้ ซ, ทร
คำที่ใช้ ใ-, ไ-
คำที่ออกเสียง อะ
การใช้วรรณยุกต์
คำที่มีตัวการันต์
คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: