วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเขียนย่อความ

การเขียนย่อความ

การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อเรื่องอะไร
- ใครเป็นผู้แต่ง
- จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
- มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- ความฉบับแรกว่าอะไร
- ใครตอบเมื่อไร
- มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อ…..ของใคร
- กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
- เรื่องอะไร (ถ้ามี)
- เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
- ณ ที่ใด
- เมื่อไร
- ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
- มีความว่า……
ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.

ไม่มีความคิดเห็น: